YoungHappy x CGS-CIMB
#ADVERTORIAL
เคล็ดไม่ลับการวางแผนชีวิตที่เราต่างก็เคยได้ยิน หรืออาจเคยเป็นคนแนะนำส่งต่อให้กับลูกหลาน คนใกล้ตัวมาแล้ว เพราะในวันที่บัญชีไม่ได้มีเงินหลักหมื่นหลักแสนเข้าทุกเดือนเป็นประจำอีกต่อไป การมีแผนทางการเงินที่ดีจะช่วยประกันได้ว่า เราจะเกษียณอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้
แน่นอนแผนที่ดีอาจทำให้พี่ๆ มีเงินเก็บก้อนโต รออยู่ปลายทาง แต่หากขาดการจัดการที่ดี เงินก้อนที่มีก็อาจหมดไปด้วยหลายสาเหตุ เช่น สภาพเศรษฐกิจที่ผันผวน เหตุการณ์ไม่คาดฝันในชีวิตอย่างเช่นการซ่อมแซมปรับปรุงบ้าน หรือผ่าตัดรักษาสุขภาพ
เพราะการเกษียณไม่ใช่สถานีสุดท้ายของชีวิต แต่เป็นสถานีเปิดใหม่ที่ผู้โดยสารวัยเก๋ามาถึง ยังแฮปปี้ และ CGS-CIMB จึงขอแชร์เทคนิค การบริหารจัดการเงินเก็บในวัยเกษียณ ที่ไม่เพียงแต่เก็บไว้ใช้ในการดำรงชีวิต แต่เป็นการต่อยอดให้งอกเงย มั่งคั่ง ยั่งยืน พร้อมรับทุกสถานการณ์สังคม ดูแลตัวเองและคนที่เรารักได้ ให้พี่ๆ นำไปลองปรับใช้กับตัวเอง

บริหารเงินก้อนด้วยการแบ่งเงิน
พี่ๆ หลายคนเมื่อเกษียณแล้ว ไม่รู้ว่าจะจัดการเงินก้อนหลังเกษียณยังไงดี สิ่งแรกที่ต้องทำคือการแบ่งเงินก้อนหรือเงินเก็บที่มีออกมาให้ชัดเจน โดยแบ่งเป็น 3 ก้อน คือ
ก้อนที่ 1 เงินสำหรับการดำรงชีวิตประจำวันและกรณีฉุกเฉิน
เป็นเงินสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพื่อสภาพคล่อง ได้แก่ เงินค่าอาหารการกิน ค่าเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต ฯลฯ ซึ่งสำคัญและจำเป็นมาก รวมถึงเงินที่ควรมีเผื่อไว้กรณีฉุกเฉิน เช่น ต้องใช้เงินจำนวนมากซ่อมแซมปรับปรุงบ้าน ยานพาหนะ หรือรักษาสุขภาพ หรือมีภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ผันผวน เกิดวิกฤตต่างๆ โดยเงินเผื่อฉุกเฉินนั้น พี่ๆ ควรเตรียมไว้ประมาณ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน
ก้อนที่ 2 เงินเพื่อการลงทุน
เมื่อพี่ๆ จัดสรรเงินก้อนแรกสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแล้ว เงินก้อนที่สอง พี่ๆ ควรนำมาลงทุนเพื่อให้เกิดดอกออกผล เติบโตในอนาคต เพราะหากพี่ๆ ไม่จัดสรรเงินมาลงทุน เก็บไว้เฉยๆ เงินก้อนที่พี่ๆ มีก็อาจถูกภาวะเงินเฟ้อกัดกิน จนทำให้มูลค่าเงินของพี่ๆ ถูกลงก็ได้ การแบ่งเงินมาลงทุนในระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมจึงไม่เพียงแต่ช่วยให้พี่ๆ เอาชนะเงินเฟ้อได้ แต่ยังเป็นการต่อยอดให้เงินได้ทำงาน แล้วเราก็เกษียณสำราญอยู่บ้านได้ในทุกสถานการณ์นั่นเอง
ก้อนที่ 3 เงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายยามเกษียณ
อีกหนึ่งเงินก้อนที่พี่ๆ ควรสำรองไว้ แม้ว่าจะเป็นเงินก้อนที่มีความสำคัญน้อยกว่าสองก้อนแรก แต่ก็ถือว่ามีความสำคัญ เพราะเป็นเงินสำรองส่วนเกินสำหรับใช้จ่ายยามเกษียณ เช่น ไว้สำหรับท่องเที่ยวหรือพักผ่อนทำกิจกรรมต่างๆ เป็นมรดกไว้สำหรับมอบให้กับลูกหลาน หรือใช้เป็นเงินสำรองเพื่อการลงทุนที่มีความเสี่ยงขึ้นก็ได้เช่นกัน

ลงทุนอย่างไรให้เหมาะกับวัยเรา
เพราะการลงทุนมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งความเสี่ยงต่ำความเสี่ยงสูง รวมไปถึงสภาพคล่องที่แตกต่างกัน ลองไปดูรูปแบบตัวอย่างสินทรัพย์ที่เหมาะสมกับวัยเกษียณ และสัดส่วนเงินลงทุนที่เหมาะสมให้พี่ๆ ได้ลองตัดสินใจเลือกลงทุนกัน
1.เงินฝากออมทรัพย์
20% ของเงินลงทุน (ผลตอบแทนคาดหวัง 0.25-0.5% ความผันผวนต่ำ สภาพคล่องสูง)
• บัญชีออมทรัพย์ Saving
• กองทุนรวมตลาดเงิน Money Market Fund
2.ตราสารหนี้
50% ของเงินลงทุน (ผลตอบแทนคาดหวัง 0.5-5.0% ความผันผวนต่ำ สภาพคล่องต่ำ)
• เงินฝากประจำ
• สหกรณ์ออมทรัพย์
• สลากออมสิน
• หุ้นกู้
3.ตราสารทุน
20% ของเงินลงทุน (ผลตอบแทนคาดหวัง 7-15% ความผันผวนสูง สภาพคล่องปานกลาง)
• หุ้นไทย
• หุ้นต่างประเทศ
4.สินทรัพย์ทางเลือก
10% ของเงินลงทุน (ผลตอบแทนคาดหวัง 5-10% ความผันผวนสูง สภาพคล่องปานกลาง)
• ทองคำ
• commodity
• ตราสารอนุพันธ์
• ตราสารหนี้ผสมอนุพันธ์ Structured product อย่างเช่น KIKO, ELN
• กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
หมายเหตุ: ผลตอบแทนคาดหวัง คาดการณ์โดย CGS-CIMB Private Fund โดยศึกษาข้อมูลผลตอบแทนในอดีต ปรับด้วยแนวโน้มสภาวะการลงทุนในอนาคต

การลงทุนที่ดี หน้าตาเป็นอย่างไร
มาถึงตรงนี้ พี่ๆ อาจสงสัยว่า สรุปแล้วเงินสองก้อนทั้งหมดนั้น หากตัดสินใจลงทุน ควรจะเลือกลงทุนอย่างไรดี ซึ่งบอกได้เลยว่า หลักสำคัญของการลงทุนในวัยเกษียณนั้น ควรมีองค์ประกอบ ดังนี้
1.มีความเสี่ยงต่ำ หรือความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ แต่ก็ไม่ต่ำจนเกินไป
2.กระจายความเสี่ยง ไม่ลงทุนจำนวนมากในแหล่งเดียว เพราะหากผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่พี่ๆ คาดหวังไว้ ก็อาจทำให้การลงทุนเสียหาย และยิ่งถ้าเป็นเงินก้อนสุดท้ายในชีวิตการจะกลับมาแก้ตัวใหม่ ก็อาจไม่ง่าย
3.มีสภาพคล่องเพียงพอ สำหรับค่าใช้จ่ายและเงินสำรองฉุกเฉิน สามารถถอนใช้ได้ง่ายเมื่อจำเป็น
อย่างไรก็ตามนี่เป็นคำแนะนำเบื้องต้นสำหรับพี่ๆ ที่กำลังวางแผนและออกแบบเงินเก็บหลังเกษียณ หรือพี่ๆ ที่กำลังสับสนว่าจะบริหารจัดการเงินก้อนของตัวเองอย่างไรดี
หากพี่ๆ รู้สึกว่าการลงทุนนั้นยากและไม่มีเวลาไปศึกษาด้วยตัวเอง หรือกำลังไม่มั่นใจต้องการตัวช่วย ก็สามารถมองหาผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทด้านการลงทุน เพื่อมาดูแลและบริหารเงินลงทุนของพี่ๆ ได้ ยังแฮปปี้ก็ขอแนะนำ บริษัทหลักทรัพย์ CGS-CIMB ที่มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาช่วยวางแผนการเงินในการลงทุนทุกรูปแบบ ให้เหมาะสมกับเป้าหมายและความสามารถในการรับความเสี่ยงของพี่ๆ ทุกคนได้ตามความต้องการ
เพราะการลงทุนนั้นไม่ได้หมายถึงการเงินที่มั่งคั่ง แต่ยังหมายถึงคุณภาพชีวิตที่มั่นคงอีกด้วย
Share this article