สมมติว่ายังแฮปปี้ ขอถามพี่ๆ ตรงๆ ว่า “เป็นคนดื้อไหม” พี่ๆ จะตอบว่าอะไร

เชื่อว่าคำตอบที่ได้ย่อมแตกต่างกันไปตามลักษณะนิสัยของพี่ๆ แต่ละคน แต่รู้หรือไม่ว่า ‘ความดื้อ’ หรือการรั้นไม่ยอมทำตามคำสั่งต่างๆ เป็นอารมณ์ตามธรรมชาติของมนุษย์เรา ซึ่งช่วงวัยที่แสดงอาการออกมาชัดเจนที่สุด คือวัยเด็กและวัยสูงอายุ

โดยวัยเด็ก ความดื้อเกิดจากการอยากรู้อยากเห็น อยากลองสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว จึงทำให้เกิดการดื้อรั้นเพื่อทำการต่างๆ ตามที่ใจต้องการ แต่สำหรับในวัยสูงอายุ ความดื้อเกิดจากประสบการณ์ชีวิตที่มีมาก จึงทำให้อยากทำอะไรเดิมๆ ซ้ำๆ ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง เมื่อมีใครบอกให้ทำอะไร มักจะไม่ยอมทำตาม เพราะเชื่อมั่นในประสบการณ์ของตนเองที่ผ่านมามากกว่า

และถ้าหาย้อนเวลากลับไป ผู้สูงอายุที่เคยเป็นหัวหน้าครอบครัวมาก่อน หรือเคยดูแลสมาชิกทุกคนในบ้าน เมื่อถึงคราวที่ต้องกลับกลายเป็นผู้ได้รับการดูแลแทน ทำให้รู้สึกกำลังถูกด้อยค่า จึงทำให้อยากต่อต้าน ไม่ยอมรับ หรือดื้อนั่นเอง

การดื้อ คือต้นเหตุสำคัญของความขัดแย้งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาในครอบครัว ถ้าไม่รีบแก้ไขปัญหาดังกล่าว อาจกลายเป็นปมทางจิตใจที่แก้ไขได้ยาก ถ้าพี่ๆ หรือลูกหลานเริ่มรู้สึกถึงความไม่เข้าใจกัน ยังแฮปปี้มีเคล็ดลับดีๆ อยากให้ลองทำตามกัน โดยจะแบ่งออกเป็นเทคนิคสำหรับลูกหลานและพี่ๆ ผู้สูงอายุ ปรับความคิดให้แฮปปี้ไปด้วยกัน

วิธีแก้ผู้สูงอายุดื้อ สำหรับลูกหลาน

  • ไม่ตามใจจนเกินไป
  • ใช้คำพูดเพราะๆ
  • เปิดโอกาสให้ได้ทำอะไรที่อยากทำ
  • หาเวลาทำกิจกรรมร่วมกัน

วิธีแก้ดื้อ สำหรับผู้สูงอายุ

  • วางตัวเองลงบ้าง
  • เปิดใจรับความคิดเห็นใหม่ๆ
  • ตามกระแสโลกให้ทัน
  • หาเวลาทำกิจกรรมร่วมกัน

เห็นได้ว่า วิธีแก้ดื้อที่เหมือนกันสำหรับสองช่วงวัย คือการ ‘หาเวลาทำกิจกรรมร่วมกัน’ เพราะเป็นหนึ่งในทางออก ที่จะทำให้ทั้งฝ่ายมองกันและกันอย่างเข้าใจ เลิก ‘ดื้อ’ แล้วหันกลับมา ‘ดีกัน’ นะจ๊ะ

อ้างอิง

https://baanlalisa.com/why-do-some-old-people-get-mean/

https://www.manoottangwai.com/read/view/generation-gap/