การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้หลายคนกลัวการออกไปข้างนอก และเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ 

.

แต่หารู้ไม่ว่าการนั่งๆ นอนๆ ไม่ค่อยได้เดิน ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายนั้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อมวลกล้ามเนื้อ เพราะกล้ามเนื้อจะค่อยๆ เล็กลีบ ร่างกายก็จะอ่อนแอลง และนี่คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคซาร์โคพีเนีย (Sarcopenia) 

.

ยังแฮปปี้ชวนพี่ๆ ไปรู้จักกับ โรคซาร์โคพีเนีย (Sarcopenia) หรือ โรคมวลกล้ามเนื้อสลาย ที่ต้องระวัง 

undefined

อาการเบื้องต้นของโรคซาร์โคพีเนีย 

สังเกตได้จากกล้ามเนื้อบริเวณแขน ขาของผู้ป่วยจะเล็ก ลีบ และอ่อนแรงลง เนื่องจากขาดการออกกำลังกาย บวกกับการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนไม่เพียงพอ  

.

อย่างไรก็ดี พี่ๆ ที่รูปร่างผอมบางไม่ต้องกังวลไป เพราะไม่ใช่ว่าคนผอมทุกคนจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคซาร์โคพีเนีย แต่ถ้ากล้ามเนื้อแขน ขา เล็กลีบลงไปเรื่อยๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด 

.

โรคซาร์โคพีเนียมักเกิดกับผู้ที่มีอายุระหว่าง 65-80 ปี โดยผู้ป่วยอาจสูญเสียมวลกล้ามเนื้อสูงถึง 8% ทุกๆ 10 ปี อย่างไรก็ดี โรคนี้ไม่ได้เกิดกับผู้สูงวัยเท่านั้น คนในวัย 30-40 ปีก็มีโอกาสเป็นได้ 

undefined

สัญญาณอื่นๆ ที่บ่งชี้ว่าอาจกำลังเป็นโรคซาร์โคพีเนีย 

- ไม่สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้เหมือนเดิม 

- เดินช้าลง 

- เดินขึ้นบันไดด้วยความลำบาก 

- ล้มบ่อย เนื่องจากสูญเสียการทรงตัว 

undefined

จะชะลอการเป็นโรคซาร์โคพีเนียได้อย่างไร 

ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 หลายคนใช้เวลาส่วนใหญ่นั่งอยู่หน้าจอ ซึ่งหากปล่อยให้ตัวเองทำพฤติกรรมแบบนี้ซ้ำๆ นานไปมวลกล้ามเนื้อจะค่อยๆ สูญสลาย และมีโอกาสที่จะเป็นโรคซาร์โคพีเนียได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ยิ่งต้องระวังให้มาก เพราะอายุมากขึ้น ความเสี่ยงก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย 

.

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว พี่ๆ ควรหมั่นออกกำลังกล้ามเนื้อ ด้วยการยกแขน ขาบ่อยๆ ถ้าใช้เวทเทรนนิ่งช่วยในการเพิ่มแรงต้านด้วยก็จะยิ่งดี อีกอย่างคือที่ควรทำคือกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวและใช้กล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง 

.

ในผู้สูงอายุ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อาจไม่ทำให้มวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและชัดเจนเหมือนในวัยหนุ่มสาว แต่ก็สามารถชะลอการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อและช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นได้โดยไม่ต้องพึ่งยา ที่สำคัญนอกจากออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแล้ว จะต้องกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย 

undefined

วิธีออกกำลังกายง่ายๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคซาร์โคพีเนีย 

กภ.ทวีศักดิ์ ปฐม หัวหน้างานกายภาพบำบัด ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์จังหวัดนครสรรค์ ให้คำแนะนำถึงวิธีออกกำลังกายที่ทำได้ง่ายๆ ดังนี้ 

.

สำหรับผู้สูงวัยที่สามารถยืนและเดินได้ด้วยตัวเอง ให้พยายามยืนขึ้นแล้วฝึกใช้มือและแขนดันผนังในแนวตั้ง โดยใช้น้ำหนักตัวเป็นแรงกด หากทำเป็นประจำ จะทำให้กำลังแขนแข็งแรงขึ้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์พิเศษมาใช้ให้สิ้นเปลือง  

undefined

ส่วนผู้ที่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน (Walker) ให้พยายามใช้มือและแขนพยุงตัวให้ลุกขึ้นเดินด้วยตัวเอง เพื่อให้กล้ามเนื้อเข่า ขา และเท้าได้เคลื่อนไหว นอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อในส่วนอื่นๆ รวมทั้งมือ แขน หลัง ไหล่ และสะโพกให้เคลื่อนไหวตามไปด้วย การทำเช่นนี้จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยมากที่สุดในผู้สูงอายุ โดยสาเหตุที่แท้จริงก็เกี่ยวเนื่องกับโรคซาร์โคพีเนียนี่เอง 

.

สุดท้ายนี้ ขอให้ระลึกไว้ว่า ทรัพย์สมบัติอื่นที่เรามี ยิ่งใช้อาจยิ่งหมด แต่ 'กล้ามเนื้อ' ยิ่งใช้ กลับยิ่งแข็งแรง ดังนั้น อย่าอยู่นิ่งนานๆ หมั่นขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเลือกรับประทานแต่อาหารที่ดีต่อสุขภาพ พี่ๆ จะได้แข็งแรง ห่างไกลจากโรคซาร์โคพีเนียตลอดไป  

อ้างอิงข้อมูลจาก 

https://www.bangkokbiznews.com/social/1008689 

https://hmong.in.th/wiki/Sarcopenia 

https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/23167-sarcopenia