#ADVERTORIAL 

"เป็นเบาหวาน ก็เบาใจได้ แค่เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน" 

สัมผัสกับกิจกรรม 'ท้าพิสูจน์ 30 วันคุณทำได้ เปลี่ยนเบาหวานให้เบาใจ' รับวันเบาหวานโลก 

ซึ่งจัดขึ้นโดย กลูเซอนา 

ในบรรดาโรคยอดฮิตที่พี่ๆ วัยเก๋าต้องเผชิญ ‘โรคเบาหวาน’ คือโรคประจำตัวขึ้นแท่นอันดับหนึ่งที่พบในวัยเก๋ามากที่สุด และมีแนวโน้มจะมีจำนวนผู้เป็นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลว่า ในปี 2583 ผู้เป็นโรคนี้จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 5.3 ล้านคน (1)

เพราะร้อยละ 95 ของผู้เป็นเบาหวานทั้งหมดมีสาเหตุจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน (2) รวมทั้งพฤติกรรมการกินในชีวิตประจำวัน ทำให้พี่ๆ วัยเก๋าหลายคนกลายเป็นผู้เป็นเบาหวาน และต้องหันมาลดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยการควบคุมอาหารและกินยารักษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแน่นอนว่าต้องอาศัยความมีวินัยและความรู้ทางโภชนาการในการเลือกกินอย่างมาก แถมยังต้องอาศัยพลังกายพลังใจที่จะเว้นของโปรด ของอร่อยที่เคยกิน ทำให้วัยเก๋าหลายคนรู้สึกว่าเป็นโรคเบาหวาน...ไม่เบาเลย 

เนื่องในวันเบาหวานโลกปีนี้ ยังแฮปปี้อยากให้พี่ๆ วัยเก๋าที่กำลังเผชิญกับโรคเบาหวาน ได้เบาใจมากขึ้น จึงขอนำความรู้ดีๆ และภาพบรรยากาศสนุกๆ จากเวิร์กช็อปที่ยังแฮปปี้ได้ไปเข้าร่วมกิจกรรม 'ท้าพิสูจน์ 30 วันคุณทำได้ เปลี่ยนเบาหวานให้เบาใจ' มาฝากพี่ๆ วัยเก๋าทุกคน โดยเป็นการร่วมมือระหว่าง กลูเซอนา ผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ร่วมกับ โมดิช ร้านอาหารสุขภาพดิลิเวอรี่ที่ออกแบบอาหารโดยผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ จัด Exclusive Workshop เพื่อส่งเสริมความรู้ทางด้านโภชนาการ พร้อมเสริมสร้างความเข้าใจในด้านการดูแลตัวเอง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินในชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง ให้เบาหวาน กลายเป็นเรื่องที่เบาใจกว่าที่เคย 

บรรยากาศของการเวิร์กช็อปก็เต็มไปด้วยความสนุกสนาน เพราะตัวแทนผู้เชี่ยวชาญโภชนาการเบาหวานและผู้ดูแลทั้ง 100 คู่ที่ผ่านการคัดเลือก จะได้รับฟังการบรรยายแบบมีส่วนร่วมจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ พร้อมกับเข้าฐานเสริมความรู้ด้านโภชนาการจากนักโภชนาการ ทั้งมีเกมสนุกๆ ให้ร่วมลุ้นรางวัลและยังได้เข้าครัวสวมบทบาทเป็นเชฟเมนูสุขภาพอีกด้วย จะสนุกสนานขนาดไหน ไปติดตามกันได้กันเลย 

undefined

เบาหวาน เบาใจได้ 

เริ่มด้วยการบรรยายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ซึ่งเกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติอย่างต่อเนื่องและเรื้อรัง ตับอ่อนทำงานผิดปกติ ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอินซูลินได้น้อย ส่งผลให้เกิดอาการ ตั้งแต่อ่อนเพลีย ตาพร่ามัว หิวบ่อย ชาปลายมือเท้า เป็นแผลแล้วหายช้า ไปจนถึงอาการไตวาย เป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือหัวใจล้มเหลวได้เลยทีเดียว 

คุณหมอจึงแนะแนวทางการรักษาโรคเบาหวาน ว่านอกจากการใช้ยาแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ผ่านการคุมอาหารและน้ำหนัก ด้วยโภชนาการที่เหมาะสม ว่าควรจะกินอะไรและสัดส่วนเท่าไรดี ซึ่งเป็นการบรรยายที่เน้นการโต้ตอบ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้าร่วมทุกคน ด้วยชุดคำถามน่าสนใจ ทำให้การบรรยายครั้งนี้เต็มไปด้วยความสนุกสนาน และข้อมูลทางสุขภาพใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน โดยเฉพาะรหัสทองคำ ที่คุณหมอให้พี่ๆ ผู้เป็นเบาหวานท่องให้ขึ้นใจ ที่จะกินอาหารเมื่อไร ท่องตัวเลข 2 ชุดนี้ เบาใจแน่นอน 

undefined

2:1:1 สัดส่วนจานอาหารเพื่อสุขภาพดี 

คือสัดส่วนอาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพของผู้เป็นเบาหวาน ที่หากกินได้ตามนี้ จะได้รับสารอาหารครบถ้วนถูกหลักโภชนาการในปริมาณที่เหมาะสม โดยแบ่งออกเป็น 

ผัก 2 ส่วน สามารถเลือกกินผักได้หลากหลายในปริมาณ 2 ส่วนของจาน ยกเว้นผักหัว อย่าง ฟักทอง เผือก มันฝรั่ง เป็นต้น เพราะผักเหล่านี้ให้แป้งกับร่างกายเกินความจำเป็น 

ข้าวหรือแป้ง 1 ส่วน หรือประมาณ 1 กำมือ ควรเลือกเป็นชนิดไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ เป็นต้น 

เนื้อสัตว์ 1 ส่วน หรือประมาณ 1 กำมือ ควรเลือกเป็นเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และไม่แปรรูป เช่น เนื้อไก่ไม่ติดหนัง เนื้อปลา ไข่ เต้าหู้ เป็นต้น 

6:6:1 จำกัดรสชาติเพื่อสุขภาพดี

ตัวเลขอีกชุดหนึ่งที่พี่ๆ ต้องท่องจำให้ดี คือ 6:6:1 ซึ่งเป็นสัดส่วนปริมาณของ น้ำตาล น้ำมัน และเกลือ ในแต่ละวัน ที่ควรบริโภค ได้แก่ น้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา น้ำมันไม่เกิน 6 ช้อนชา และ เกลือ ไม่เกิน 1 ช้อนชา เพราะหากพี่ๆ กินอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล น้ำมัน และเกลือเกินจำนวนนี้ อาจทำให้เกิดโทษ ส่งผลเสียต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย ปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายต้องรับไขมันเกินความจำเป็น และได้รับปริมาณโซเดียมที่มากขึ้น นำไปสู่อาการของโรคเบาหวานนั่นเอง 

undefined

นอกจากการอ่านฉลากเพื่อเลือกบริโภคอาหารและเครื่องดื่มในชีวิตประจำวันแล้ว ในฐานยังมีการนำเสนออาหารแลกเปลี่ยนในหมวดต่างๆ ซึ่งเป็นอาหารที่ให้พลังงานและสารอาหารที่ใกล้เคียงกันกับอาหารมื้อหลัก ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ เพื่อให้พี่ๆ ได้เลือกบริโภคยามเบื่อๆ เมนูเดิมๆ และหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ซึ่งยังแฮปปี้ก็ได้นำมาฝากพี่ๆ วัยเก๋า ได้ลองไปรับใช้กับเมนูอาหารของตัวเองเช่นกัน 

อาหารที่สามารถทดแทนกันได้ใน 1 มื้อ 

ข้าว-แป้ง: ข้าวกล้อง 1 ทัพพีไม่พูน, ข้าวเหนียวครึ่งทัพพี, ข้าวต้ม 2 ทัพพี, ขนมปังโฮลวีต 1 แผ่น, ข้าวโพดครึ่งฝัก, ผักหัว เช่น ฟักทอง เผือก มัน, ถั่วแดง ถั่วลิสง 1 ทัพพี, ขนมจีน 3 จับ 

ผลไม้: ผลไม้ขนาดเท่ากำมือ เช่น แอปเปิ้ล กล้วยน้ำว้า ส้ม อย่างใดอย่างหนึ่ง 1 ผล, ผลไม้ขนาดกลางเช่น แก้วมังกร มะม่วงดิบ กล้วยหอม ครึ่งผล, ผลไม้ขนาดใหญ่ เช่น แตงโม สับปะรด มะละกอสุก 6-8 คำ ควรหลีกเลี่ยงเครื่องจิ้มเช่น น้ำปลาหวาน พริกเกลือ และหลีกเลี่ยงน้ำผลไม้หรือผลไม้แปรรูป 

ผัก: ผักดิบ 1 ทัพพี ผักสุก 2 ทัพพี 

นม: 1 กล่อง หรือ 240 มิลลิลิตร ควรเลือกดื่มนมรสจืด ชนิดพร่องมันเนย หลีกเลี่ยงนมเปรี้ยว หรือนมแต่งรสชาติอื่นๆ เนื่องจากมีน้ำตาลสูง 

เนื้อสัตว์: ไข่ขาว 2 ฟอง, ไข่ทั้งฟอง 1 ฟอง, ปลาทูตัวเล็ก 1 ตัว, เต้าหู้หลอด ⅔ หลอด, เนื้อปลา เนื้อไก่ 2 ช้อนโต๊ะ, นมถั่วเหลืองไม่ใส่น้ำตาล 1 แก้ว 

ไขมัน: ถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง เลือกทานแบบไม่โรยเกลือ,น้ำมันมะกอก1 ช้อนโต๊ะ,น้ำมันรำข้าว 1 ช้อนโต๊ะ 

undefined

อ่านฉลากเป็น กินได้สุขภาพดี 

สำหรับกิจกรรมในช่วงนี้ เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้จากนักโภชนาการมืออาชีพ ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สลับฐานไปเรื่อยๆ ซึ่งบรรดานักโภชนาการก็ทุ่มสุดตัว ขนอาหารและเครื่องดื่มที่เรามักซื้อตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ ในชีวิตประจำวันมาแนะนำวิธีการดูปริมาณน้ำตาลและปริมาณโซเดียม ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคเบาหวาน โดยอ่านจากข้อมูลโภชนาการที่ฉลากกันแบบชัดๆ ว่าเมนูโปรดของแต่ละคนเมื่อสกัดออกมาแล้วมีน้ำตาลและเกลืออยู่มากน้อยแค่ไหน 

กิจกรรมเวิร์กช็อปยังมีเกมสนุกๆ ชิงรางวัลด้วยการแข่งกันช้อปปิ้งอาหารเพื่อสุขภาพ แต่ละคนก็สนุกสนานแถมได้นำความรู้จากฐานมาลองใช้จริง รับรองว่าผู้เข้าร่วมทุกคนกลับบ้านไปแล้วก็สามารถเลือกซื้ออาหารด้วยตัวเองได้ราวกับมีนักโภชนาการคอยกระซิบกันข้างๆ แน่นอน 

undefined

รังสรรค์เมนูเด็ด แบบเบาหวาน เบาใจ 

ในช่วงสุดท้ายของกิจกรรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนได้เรียนรู้และทดลองทำเมนูเพื่อสุขภาพ โดยมีส่วนประกอบสำคัญอย่าง 'กลูเซอนาเอสอาร์ ทริปเปิ้ลแคร์' ผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน* ที่ใช้เป็นอาหารทดแทนหรือเสริมมื้ออาหารได้ ให้กลายเป็นเมนูเครื่องดื่มอย่าง ชานมเฉาก๊วยบุก สูตรที่เหมาะกับผู้เป็นเบาหวาน ที่ทุกคนที่ได้ชิมบอกเลยว่ามีรสชาติอร่อย แถมยังทำเองง่ายๆ ได้ที่บ้านอีกด้วย

*อาหารทางการแพทย์ ต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ 

undefined

ก่อนจะต่อด้วยอีกหนึ่งเมนูอาหารจานเด็ด ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้สวมวิญญาณเชฟ เปิดครัวปรุงเมนูสุขภาพด้วยตัวเอง ในเมนูที่มีชื่อเก๋ๆ ว่า ‘ข้าวคลุก(ไม่)กะปิ’ โดยสูตรเด็ดจากเชฟผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ความน่าสนใจคือวัตถุดิบที่เลือกมาใช้ ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพสำหรับผู้เป็นเบาหวาน มาแทนทดวัตถุดิบเดิมๆ อย่างเช่น ใช้เต้าหู้กับเห็ดชนิดต่างๆ แทนเนื้อสัตว์ ใช้ถั่วเน่าแทนกะปิ ใช้น้ำมันรำข้าวแทนน้ำมันพืช และยังใช้ซอสปรุงรสแบบโซเดียมต่ำอีกด้วย ซึ่งผู้เข้าร่วมทุกคนต่างก็สนุกสนานไปกับการทำอาหาร และตกแต่งจานของตัวเอง พร้อมบรรจุใส่กล่องสวยงามติดไม้ติดมือกลับไปชิมที่บ้านอีกด้วย 

undefined

ภายหลังจากจบการเวิร์กช็อป ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นโรคเบาหวาน จะได้รับผลิตภัณฑ์กลูเซอนา และอาหารสุขภาพตามหลักโภชนาการจัดส่งให้ถึงบ้าน พร้อมรับคำปรึกษาการดูแลระดับน้ำตาลในเลือดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตลอด 30 วัน เพื่อพิสูจน์ร่วมกันว่า หากดูแลตัวเองได้ดี ถึงเป็นเบาหวานก็เปลี่ยนให้เบาใจได้ 

ยังแฮปปี้ขอเป็นกำลังใจให้กับวัยเก๋าและผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นเบาหวานทุกคน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินได้สำเร็จ ห่างไกลจากโรคเบาหวาน และมีสุขภาพแข็งแรง 

ติดตามรายละเอียดแคมเปญและสารสุขภาพจากกลูเซอนา ได้ที่ Facebook: Abbott Nutrition Care (https://bit.ly/3sBCH36) 

*กิจกรรมนี้จัดขึ้นภายใต้มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด 19 

อ้างอิง 

1.สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน ที่ควบคุมไม่ดี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก facebook.com/dmthai. (วันที่ค้นข้อมูล :18 ตุลาคม 2565). 

2.กระทรวงสาธารณสุข. โยรคเบาหวานชนิดที่ 2. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก hpc6.anamai.moph.go.th. (วันที่ค้นข้อมูล :18 ตุลาคม 2565). 

เนื้อหากิจกรรมโดย ทีมโภชนาการ บริษัท โมดิชฟู้ดดีไซน์ จำกัด 

#กลูเซอนาxโมดิช 

#ท้าพิสูจน์30วันคุณทำได้ 

#กลูเซอนาผู้ช่วยเบาหวานที่คุณไว้ใจ

#วันเบาหวานโลก

TH.2022.31780.GLU.1 (v1.0)