ช่วงนี้พี่ๆ น่าจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับกระแสของ AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ กันมากขึ้น ว่ามีศักยภาพในการช่วยให้มนุษย์อย่างเราๆ สามารถทำงานได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น หรือสามารถเข้ามาทดแทนงานบางอย่างที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้
แต่ขณะเดียวกัน การนำ AI มาใช้งานก็เหมือนเป็นดาบสองคม ที่เหล่ามิจฉาชีพนำมาใช้เป็นเครื่องมือสร้างความเข้าใจผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างรูปภาพเกินจริง ที่เกิดจากการ generative โดย AI ด้วยการป้อนคำสั่งหรือ prompt เข้าไป เพื่อสร้างเนื้อหาขึ้นใหม่จากข้อมูลที่มีอยู่ ซึ่งสามารถทำได้ง่ายผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันบริการต่างๆ มากมาย
ยกตัวอย่างเช่น ภาพถ่ายเด็กที่สามารถสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ขึ้นมาจากเศษขยะ ได้แบบสวยงามเหลือเชื่อ ซึ่งเป็นภาพที่เกิดจากการป้อน prompt หรือคำสั่งเข้าไป ให้ AI สร้างภาพขึ้นมา แต่ด้วยภาพที่ออกมาสวยงามมากๆ มีเรื่องราวน่าสนใจ จึงทำให้หลายคนหลงเชื่อว่าเป็นภาพถ่ายจริงๆ และเกิดความเข้าใจผิดได้

ยังแฮปปี้จึงไม่อยากให้พี่ๆ วัยเก๋าต้องตกเป็นเหยื่อ จึงมาแนะนำวิธีสังเกตรูปภาพที่สร้างมาจาก AI ดังต่อไปนี้
- ภาพสวยงามมากๆ ทั้งองค์ประกอบและแสง
- เหตุการณ์ที่เกิดในภาพดูเกินจริงไปมากๆ
- มีจุดผิดปกติ เช่น ผิวคนเรียบเนียนเกินไป มีอวัยวะเกินหรือขาด
ถ้าเจอภาพที่มีลักษณะเหล่านี้ อย่าเพิ่งเชื่อ! อย่าเพิ่งเมนต์! อย่าเพิ่งแชร์! แล้ววัยเก๋าจะรู้เท่าทันเทคโนโลยีแบบที่วัยไหนก็ดูถูกไม่ได้แน่นอน
Share this article